ส่วนประกอบของเครน และ ข้อควรระวังที่คุณต้องรู้ก่อนนำไปใช้งาน

ส่วนประกอบปั้นจั่น

ปั้นจั่น คือ อุปกรณ์ในการยกสิ่งของที่มีน้ำหนักมากเพื่อขึ้นที่สูง โดยใช้สลิงในการตรึงระหว่างสิ่งของและตัวแขนบูม ซึ่งใช้ในการเคลื่อนย้ายสิ่งของไปมา สามารถยกขึ้นแนวดิ่งและเคลื่อนไหวหมุนไปมาได้ในแนวราบแบบ 360 องศา ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นและมีความสำคัญอย่างมากในงานระดับอุตสาหกรรม ดังนั้นในวันนี้เราจะมาแนะนำ สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ ปั้นจั่น รวมไปถึงข้อควรระวัง ที่ผู้รับเหมาไม่ควรพลาด 

ตรวจสอบเครนก่อนใช้งาน

ปั้นจั่น มีกี่ชนิด 

ปั้นจั่น ในปัจจุบันนี้มีอยู่ 2 ประเภท คือ 

  1. ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ ปั้นจั่นที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งระบบควบคุม ระบบยกน้ำหนัก โดยจะติดตั้งอยู่บริเวณสถานที่ปฏิบัติงานด้วยขาตั้ง หรือหอสูง 
  2. ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ คือ ปั้นจั่นที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งระบบควบคุม ระบบยกน้ำหนัก ซึ่งตัวปั้นจั่นนี่จะติดตั้งอยู่กับยานพาหนะที่เคลื่อนไหวได้

โดยในขั้นตอนการตรวจสอบปั้นจั่นทั้งสองประเภท จะมีขั้นตอนการตรวจที่แตกต่างกัน และมีรายละเอียดยิบย่อยหลาย ๆ อย่างตามข้อกฎหมาย ทั้งนี้ ในการตรวจสอบของทั้งสองประเภท จะได้รับเอกสารที่เรียกว่า ปจ.1 สำหรับปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ และ ปจ.2 สำหรับปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ได้ โดยเอกสารเหล่านี้จะใช้ในการยื่นตรวจสอบโดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานนั่นเอง 

สะเก็นเครน

ส่วนประกอบหลัก ๆ ของปั้นจั่นที่สำคัญ

แขนบูม 

เป็นชิ้นส่วนที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ แขนบูมจะทำหน้าที่ยื่นออกจากตัวเครน เพื่อรับน้ำหนักสิ่งของที่ต้องการจะยก โดยแขนบูมจะทำจากเหล็กกล้า
วิธีการดูแลรักษาคือ หมั่นตรวจเช็คข้อต่อต่าง ๆ ว่ามีสนิม หรือเศษฝุ่นอะไรติดไหม เพราะจะทำให้การเคลื่อนที่ของเครนติดขัดได้ นอกจากนี้ยังควรตรวจสอบบริเวณรางสลิง ทำความสะอาดบ่อย ๆ และหยอดน้ำมันเพื่อให้สลิงสามารถเข้าออกได้ง่าย

แขนโครงถัก

เป็นส่วนประกอบที่อยู่ในปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ โดยจะทำหน้าที่รับภาระน้ำหนัก รับแรงกด รับแรงดึง ของโครงสร้างทั้งหมดของเครน
ซึ่งตัวแขนโครงถักนี้จะทำจากเหล็ก หากเป็นเหล็กคุณภาพดี โอกาสเกิดสนิมก็จะน้อย ดังนั้นอย่าลืมตรวจเช็คชิ้นส่วนนี้อย่างสม่ำเสมอ เพราะถ้าหากมีปัญหาอาจจะทำให้พังไปทั้งโครงสร้างได้ 

เฟืองสวิง 

คือชิ้นส่วนที่ทำหน้าที่ส่งกำลังในการหมุน หรือเคลื่อนย้ายตัวแขนบูม วิธีการดูแลรักษาคือทำความสะอาดและหยอดน้ำมันอย่างสม่ำเสมอ 

ขายันพื้น 

เป็นชิ้นส่วนที่จะทำหน้าที่รักษาสมดุลของตัวเครน เนื่องจากน้ำหนักของสิ่งของที่ใช้เยอะนั้นมีน้ำหนักมาก อาจจะทำให้เอนไปฝั่งใดฝั่งหนึ่ง ขายันพื้นจะช่วยให้เครนไม่ล้ม และยังคงตั้งอยู่ได้ 

น้ำหนักถ่วง 

ทำหน้าที่ถ่วงน้ำหนักเครน โดยตัวถ่วงน้ำหนักจะต้องมีน้ำหนักมากกว่าสิ่งของที่เคลื่อนย้ายอยู่ ดังนั้นโดยปกติแล้วผู้รับเหมาควรมีตัวถ่วงน้ำหนักสำรองในกรณีที่สิ่งของมีน้ำหนักมาก 

สายเคเบิล

ทำหน้าที่ตรึงระหว่างแขนบูมกับสิ่งของ

ตะขอ 

ทำหน้าที่เกี่ยวกับสิ่งของที่ต้องการจะยก โดยปกติแล้วผู้รับเหมาควรมีตะขอหลายรูปแบบ เพื่อให้เหมาะสมกับรูปแบบการใช้งาน 

ส่วนประกอบปั้นจั่น

ข้อควรระวังเกี่ยวกับปั้นจั่นที่คุณควรรู้ 

  • ตรวจสอบระบบทุกอย่างก่อนเริ่มการใช้งานทุกครั้ง 
  • ห้ามใช้เพื่อการโดยสาร เพราะปั้นจั่นที่มีขนาดใหญ่อาจจะก่อความเสียหายต่อพื้นที่โดยรอบได้ 
  • ปุ่มหยุดฉุกเฉินต้องเตรียมพร้อมเพื่อใช้งานตลอดเวลา 
  • ห้ามซ่อมแซมเครนหรือปั้นจั่นด้วยตัวเอง จะต้องให้วิศวกรผู้เชี่ยวชาญดูแลเท่านั้น 
  • ห้ามยกของค้างไว้โดยไม่จำเป็น 
  • อ่านคู่มือ และเตรียมตัวก่อนการใช้งานและหลังการใช้งานตามคู่มือทุกครั้ง
  • ตรวจเครน ปจ1 ปจ2 ตามที่กฎหมายกำหนด

ตรวจสอบส่วนประกอบเครนสม่ำเสมอ

การทำงานกับเครนหรือปั้นจั่นนั้นไม่ได้มีแค่ความอันตรายต่อพื้นที่ปฏิบัติงานเท่านั้น แต่อาจจะอันตรายต่อพื้นที่รอบข้าง ผู้คนรอบข้างที่ไม่เกี่ยวข้องอีกด้วย ดังนั้นความปลอดภัยเกี่ยวกับเครน และ ปั้นจั่นผู้ใช้งานจะต้องตรวจเครนให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลาจึงห้ามมองข้ามเด็ดขาด สามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับปั้นจั่นต่าง ๆ ข้อกฎหมาย บริการตรวจสอบเครน ได้ที่หน้าเว็บไซต์ของเรา 

Craneprofess เรายินดีให้คำปรึกษา และ บริการก้านการตรวจเครนครบวงจร

ออกใบรับรองโดยวิศวกรที่ได้รับการขึ้นทะเบียนถูกต้องจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน